Home กิจกรรมสมาคม สุญญากาศทางการเมือง ฉุดเศรษฐกิจไทยสูญเปล่า?

สุญญากาศทางการเมือง ฉุดเศรษฐกิจไทยสูญเปล่า?

by admin
568 views

สัมมนา”สุญญากาศทางการเมือง ฉุดเศรษฐกิจไทยสูญเปล่า?”

สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ จัดสัมมนา”สุญญากาศทางการเมือง ฉุดเศรษฐกิจไทยสูญเปล่า?” โดยมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และมี นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้า แห่งประเทศไทย นายสันติ วิลาศศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม ประธานสมาคมธนาคารไทย เป็นวิทยากรสัมมนา ณ ห้องนภาลัย บอลรูม โรงแรมดุสิตธานี เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 3 สิงหาคม 2549

ปาฐกถา ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เรื่อง “ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน”
ในงานสัมมนา “สุญญากาศทางการเมือง ฉุดเศรษฐกิจสูญเปล่า?”
วันที่ 3 สิงหาคม 2549 ณ โรงแรมดุสิตธานี

อย่างที่ทราบกันว่า ตอนนี้มีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนออกมาชี้แจงตัวเลขภาวะเศรษฐกิจของปีนี้ และที่คาดคะเนสำหรับปีหน้า แตกต่างกันหลายทัศนะ หน่วยงานของรัฐหลายแห่งเริ่มปรับการคาดคะเนอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ลดลง นักเศรษฐศาสตร์บางคนออกมาพูดว่า เศรษฐกิจในปีหน้าของเราจะขยายตัวเพียง 2 % คำว่า 2% ทำให้หลายตนตกใจกลัวพอสมควร จึงได้มอบหมายให้ทีมงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทบทวนการคาดคะเนเศรษฐกิจใหม่อีกครั้งหนึ่งอย่างละเอียด ด้วยเจตนาที่จะนำมาเล่าสู่กันฟัง ให้สาธารณชนได้รับรู้ ในสิ่งที่เห็นว่าน่าจะใกล้เคียงความจริงมากที่สุด สิ่งใดที่ดีก็จะบอกว่าดี สิ่งไหนที่เป็นจุดอ่อนก็จะบอกว่าเป็นจุดอ่อน เพื่อทุกคนจะได้ เตรียมตัวเผชิญความจริง และช่วยกันทำให้แข็งแรงขึ้น
และที่สำคัญ คือ ในสิ่งที่ไม่ดีจะได้ไม่ตระหนกตกใจจนเกินไป ก่อนพูดในอนาคตขอย้อนไปปีที่แล้ว ครึ่งปีแรกของปีก่อน และจะมีอะไรเกิดขึ้นตามจากนั้น ใน 18 เดือนที่ผ่านมา คือเมื่อต้นปีที่แล้วถึงกลางปีนี้ ประเทศไทยเจอศึกหนักโดยตลอด แต่เศรษฐกิจไทยก็ยังขยายตัวได้ในอัตราที่น่าพอใจ ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าเศรษฐกิจของเราปัจจุบันอยู่ในฐานะที่แข็งแรง และมีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งในและนอกประเทศได้เป็นอย่างดี ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Reservedly เรามีเศรษฐกิจที่ Reversal ดีทีเดียว จุดที่พิสูจน์ก็คือ ดูปี 2548 ก่อน ในตัวเลขปี 48 เห็นได้ชัดว่าต้นปี 48 เจอภัยเศรษฐกิจทั้ง 4 ชนิดพร้อม ๆ กัน สึนามิ ภัยแล้งจากปี 47 ที่ส่งผลถึงปี 48 แล้วก็น้ำมันราคารอบแรกอย่างแรงเลย
แล้วอีกอันหนึ่งคือ ตอนนั้นวัฏจักรการส่งออกลงต่ำมาก ๆ เราเจอพร้อมกัน 4 เรื่อง ปรากฏว่าเราก็ยังจบปี 48 ด้วยการเติบโตถึง 4.5% ซึ่งต้องบอกว่าน่าพอใจทีเดียว กับภาวะเศรษฐกิจทั้ง 4 ตัวพร้อมกันในปีเดียว 4.5 % ที่ได้มาจากปี 48 นั้นเรามีตัวไหนเป็นตัวสำคัญ หรือส่งเสริมการขยายตัวในปี 48 มาก เห็นได้ชัด คือ ในขณะที่การท่องเที่ยวตกมากๆ ในตอนสึนามิ ในขณะที่ Export ก็โตเพียง 4.3% เท่านั้นเอง ที่บอกว่าโต 16-17% นั้นเป็นราคาสินค้า 12-13% ตัวปริมาณสินค้าโต 4.3% คือ Inrealterm โต 4.3 % ฉะนั้นตัวที่สำคัญมี 3 ตัว คือ ตัวแรกเรียกว่า การบริโภคภาคเอกชน โต 4.4% นั่นคือ Inrealterm นะ ถ้าบวกราคาเข้าไปด้วยเกือบ 10% นะ และการลงทุนภาคเอกชน ในปี 48 ขยายกว่าปี 47 สูงถึง 11.2% Inrealterm เหมือนกัน ถ้าบวกราคาเข้าไปด้วยขึ้นไปถึง 16-17% เลย
ฉะนั้น สุดท้ายคือ ค่าใช้จ่ายภาครัฐซึ่งสูงปีที่แล้ว Inrealterm สูงถึง 12.1% ถ้าเป็นในเรื่องของตัวเงินก็สูงถึง 15-16% สูงกว่า 47 นั้นคือภาพในปี 48 ซึ่งโดนอะไรรุนแรง โดนExport Tourise ตก จะมีตัวอื่นมาช่วยเศรษฐกิจเราจะดีอย่างนี้ตัวหนึ่งตกตัวหนึ่งจะดี ปี 49 ครึ่งปีแรกเราโดนเหตุการณ์ 2 อย่าง อย่างแรกคือ น้ำมันขึ้นราคารอบสองสูงมาก กับสองสถานการณ์ การเมือง ซึ่งเรียกว่า สุญญากาศทางการเมือง หรือว่าว่างเว้นอะไรไม่ก็ไม่รู้ เมื่อโดน 2 ตัวนี้ เราก็ชักกลัวเหมือนกันแต่ปรากฏว่า อัตราการขยายตัวของ GDP นั้นโตถึง 5.4% ในครึ่งปีแรก ในไตรมาสแรกสูงถึง 6 % เพราะว่าฐานของปีที่แล้วต่ำ ส่วนไตรมาส 2 นั้น ขณะนี้ตัวเลขยังไม่เป็นทางการ สภาพัฒน์ฯ คงออกมาตรงกว่านี้ 4.7 หรือ 4.8 ไม่แน่ใจ ผมใช้ประมาณ 4.2 ไปก่อน รวมแล้วโดยเฉลี่ยก็ 5.4% แล้วอะไรที่ทำให้มันโตได้ขนาดนี้ ตัวสำคัญมี 2 ตัว คือ อันแรกเป็น Tourise นะ การท่องเที่ยวขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด ในไตรมาศ 1 สูงกว่าปีที่แล้ว 21 % ในไตรมาศสองสูงกว่าปีที่แล้ว 16% ถ้าเฉลี่ยทั้งไตรมาศก็สูงถึง 19 % อันนี้คือส่งที่เกิดขึ้นจริง และอีกตัวหนึ่งที่ช่วยได้มากคือ การส่งออก การส่งออกนั้นจะเห็นได้ว่าใน Inrealterm ในไตรมาศหนึ่งสูงถึง 12.1% อันนี้เป็นปริมาณของที่ออกนะ ถ้าบวกรคาด้วยก็สูงถึงประมาณ 16 % ราคามีผลแค่ 4% แต่ของที่ออกจริงๆ คือ12% ตัวนี้แหละที่ฉุดเศราฐกิจไทยให้ดตในครึ่งปีแรก
ในขณะที่ตัวอื่นการบริโภคภาคเอกชนนั้นถึงจะลดลงบ้างจาก 4.4% จากปีที่แล้วเหลือ4% การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัว4% Inrealterm ต้องบอกว่าดี เพราะ GDP deflator มี 6 % แปลว่าภาคเอกชนยังบริโภคในรูปของเงินที่ใช้ยังสูงกว่าปีที่แล้ว 10 % ในไตรมาสที่ 1 ลดลงนิดหนึ่งไม่ได้ถ่วงเศรษฐกิจมาก ตัวที่ช้าและถ่วงเศรษฐกิจ คือค่าใช้จ่ายภาครัฐ ค่าใช้จ่ายภาครัฐในไตรมาส 1 ในปีปฏิทิน ติดลบ ลดลงจากไตรมาส 1 ของปีที่แล้ว อันนี้ถ่วงมากหน่อย อีกตัวหนึ่งที่ชะลอลงคือ การลงทุนภาคเอกชน ซึ่งเคยเจริญเติบโตปีที่แล้วขยายตัว 11.6 ปีนี้ขยายตัวครึ่งปีแรกเพียง 6 % เท่านั้น เศรษฐกิจที่ Resereal นั้น เมื่อตัวหนึ่งพลั้งอีกตัวหนึ่งเติมได้ เมื่อตัวหนึ่งน้อยอีกตัวหนึ่งมันขึ้นมาได้
ฉะนั้นในภาวะสุญญากาศทางการเมือง ที่ออกมาพูดกลัวกันนักหนาว่ารัฐบาล รายจ่ายภาครัฐไม่มีเดี๋ยวเศรษฐกิจจะตก แต่ค่าใช้จ่ายภาครัฐลดลงจริง ๆ แต่ถามว่าเศรษฐกิจตกไหม ไม่ตก เพราะว่ามันมีตัวอื่นมาเสริม เศรษฐกิจไทยไม่ได้อยู่ในมือรัฐเท่าไหร่หรอก เศรษฐกิจประเทศไทย GDP ประเทศไทยอยู่ในมือรัฐเพียง 26 หรือ 27 % เท่านั้นที่เหลือมันอยู่ในมือเอกชน ถ้ารัฐเกิดชะลอลงบ้าง ด้วยเกิดสุญญากาศทางการเมือง ถ้าเอกชนยังเดินอยู่ผู้บริโภคยังบริโภคอยู่ และผู้ส่งออกยังส่งออกอยู่ เศรษฐกิจมันไปได้ นี่คือข้อพิสูจน์ที่แท้จริงว่า สุญญากาศทางการเมืองใน 6 เดือนแรกที่ผ่านมา ได้ฉุดเศรษฐกิจไทยอย่างที่คนนึกนะ ที่น่าสนใจคือ แนวโน้มจะเดินต่อไปในครึ่งปีหลังนั้น จะเป็นอย่างไร ถ้าดูจากตัวเลขในไตรมาส 1ไตรมาส 2 นั้น จะเห็นได้ว่า สิ่งที่เรียกว่า PI คือ การลงทุนภาคเอกชนนั้นมีแนวโน้มขยายตัวลงอย่างเห็นได้ชัด ในไตรมาส 1 เติบโต 7.2% ซึ่งปีที่แล้ว 11.1 ไตรมาส 2 เหลือ 4.9 เท่านั้น ณ ปัจจุบัน อัตราการผลิตเพิ่มสูงขึ้น 76 % ซึ่งเป็นระดับเดียวกับเศรษฐกิจบูมก่อนวิกฤต แต่นี่มาจากความไม่แน่นอนของราคาน้ำมัน ซึ่งกระทบต้นทุนการผลิต ผมเห็นใจภาคเอกชน เพราะต้องให้แน่ใจว่าราคาน้ำมันจะขึ้นจะไปหยุดที่ไหนและคำนวณต้นทุนให้ชัดเจนก่อนที่จะนำเงินไปลงทุน ได้ อันนี้ประการแรก ประการที่ 2 ความไม่แน่นอนทางการเมืองทำให้นักธุรกิจยังไม่เร่งลงทุน แต่รอดูแต่รอดูเหตุการณ์ทั้งการเมืองและราคาน้ำมัน
ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่าครึ่งปีหลังนั้น การลงทุนภาคเอกชนก็จะชะลอตัวลงไปสักระยะหนึ่ง จนกว่าทุกอย่างมันจะแน่นอนขึ้น ซึ่งน้ำมันตอนนี้ก็ใกล้จะแน่นอนแล้ว การเมืองก็ใกล้เต็มที่แล้ว ผมเห็นใจนักลงทุน คงต้องดูอีกสักระยะหนึ่ง จาก Model ของเราการขยายตัวการลงทุนภาคเอกชนในครึ่งปีหลังคงจะลดลงมาอีกเหลือประมาณ 3.5-4.5% เท่านั้นไม่น่าจะสูงกว่านี้ นี่จากการคาดคะเนของเรา ถ้าภาคเอกชนะไม่เชื่อ ไปเร่งลงทุนก็จะเป็นผลดีแก่ประเทศชาตินะ ในเรื่องของการบริโภคนั้นก็ชัดเจน มีการขยายตัวลดลงต่อไป ได้อีกเล็กน้อย เพราะในไตรมาสที่ 1 นั้นขยายตัว 4.1 Inrealterm ไตรมาสที่ 2 3.8 จะมีความรู้สึกหงอยเหงานิดหน่อยจากสถานการณ์ปัจจุบัน แต่เชื่อว่าคงจะไม่ลงไปมากเท่าไหร่ เพราะจากเดิมลดลงต่ำลงมาจนต่ำ 4% นั้น เป็นการลดลงของการบริโภคสินค้าคงทน เช่น ตู้เย็น อย่างมาก 2 ตู้ พวกนี้ซื้อจนอิ่มตัวมันก็จะลดตัวนั่นเอง แต่สินค้าที่กินใช้หมดไป อย่างที่ สหพัฒน์ฯ ขายนะ กินใช้หมดไปไม่ลงเพราะดูจาก VIT ที่เก็บไว้ยังขึ้นอยู่เลย ถ้าคุณสันติมาบอกว่าลงแสดงว่าตั้งใจหลบภาษี
ฉะนั้น เมื่อกินไปใช้ไปไม่ลงเท่าไหร่ ประกอบกับรายได้ประชาชนจากประชาชนทุกภาค ตั้งแต่ภาคเกษตรก็สูงขึ้น เพราะราคาพืชผลปีนี้เทียบกับปีที่แล้ว 25-30% เป็นอย่างนี้มา 3 ปีแล้ว การจ้างงานก็เพิ่มขึ้น ค่าจ้างขั้นต่ำก็สูงขึ้นและเงินเดือนราชการก็สูงขึ้น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ลดลงก็เริ่มกระดกขึ้นแล้ว และที่สำคัญรายได้จากภาคเกษตรพืชผลหลักสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อรายได้ทุกภาคมันสูงขึ้น ของกินใช้จึงไม่ตกการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราที่ใกล้ๆเดิมอาจจะลดลงมานิดหน่อย ครึ่งปีที่ 2 นี้จะขยายตัวการบริโภคอยู่ระหว่าง 3-4% Inrealterm เหมือนกัน ซึ่งขั้นต่ำ 9-10% ในรูปของ Monyterm ก็หมายถึง เศรษฐกิจยังเดินอยู่ด้วยภาคเอกชน การบริโภคภาคเอกชนสูงถึง 56% GDP ถ้าตัวนี้เปลี่ยนเยอะเมื่อไหร่ ยุ่งเมื่อนั้น การส่งออกเองก็มีแนวโน้มลดบ้าง เพราะยอดขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกเริ่มชะลอตัวลง ต้องเรียนสภาอุตสาหกรรมฯไว้ด้วย ราคานำมันก็ทำให้การบริโภคโดยรวมของโลกก็เริ่มลดลงนิดหน่อยแล้ว เพราะราคาต้นทุนที่สูงขึ้น นี่เป็นธรรมชาติ ช่วงไหนราคาน้ำมันสูงขึ้นการบริโภคทั้งโลกจะลดลง สัญญาณที่ส่อให้เห็นว่าการส่งออกสินค้าระหว่างประเทศจะลดลง คือยอดสินค้าวัตถุดิบสำหรับสินค้าออกบางประเภทลดลงอย่างเห็นได้ชัด
และจากการสอบถามผู้ส่งออก จากอุตสาหกรรมต่างๆ พบว่าคำสั่งซื้อที่ได้รับและคาดว่าจะได้รับสำหรับการส่งออกสินค้าประเภทวงจร ไอที ยานยนต์ ยาง สิ่งทอ เครื่องปรับอากาศ และอัญมณี จะชะลอตัวในไตรมาสที่ 2 แต่การชะลอตัวไม่ใช่ไม่โต ยังขยายตัวแต่ในอัตราที่ลดลง เพราะว่ามีเรื่องของฐานปีที่แล้วด้วยจากการ Serway ทั้งหมด จากการที่ดูสต๊อค สต๊อกวัตถุดิบที่นำเข้าลดลงเพื่อมาผลิต ถ้าเขานำเข้าวัตถุดิบน้อยลง แสดงว่ามีการนำเข้าน้อยลงจริง คาดว่าการขยายตัวการส่งออก Inrealterm ในครึ่งปีหลังจะชะลอตัวลงค่อนข้างมาก เพราะฐานปีที่แล้วของครึ่งปีหลังสูงกว่าครึ่งปีแรกด้วย และจากสินค้าเมื่อกี้ชะลอตัวด้วยนะครับ การท่องเที่ยวยังเดินต่อไปตามเดิม โดยรวมแล้วตัวที่เรียกว่า การส่งออก ทั้งสินค้าและบริการ เราก็คาดว่าจะขยายตัวถึง 3.5-4.5% และถ้าเป็น Inmonyterm ในตัวเงินประมาณ 9-10%
ขณะเดียวกัน การนำเข้าคงจะกลับมาเร่งตัวขึ้น เพราะได้ลดต่ำลงมากในภาคแรก เราดูแต่ละตัวเลยบางอันต่ำมากในที่สุดก็ต้องกลับมา ในสต๊อกน้อยกว่าที่ควรจะมีที่จำเป็นก็นำเข้ามากขึ้น ก็จะทำให้ยอดนำเข้าสูง 6-7 % Nets Export คือเอา 2 ตัวนี้ลบกันคือยอดส่องออกสุทธิลดลงมาก ฉะนั้นได้ตัว Nets Export ไม่ใช่ตัวที่จะช่วย GDP ในครึ่งปีหลังนี้โต ทวนอีกทีนะ การลงทุนในภาคเอกชนก็จะลงจนกว่าทุกอย่างจะเคลียร์ ถึงสิ้นปีนี้คงจะเคลียร์แล้วช้ากว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว นักลงทุนต้องการความมั่นใจ การบริโภคลงไม่มาก ยังใกล้ 4 อยู่ ต่ำกว่า 4 นิดหน่อย ตัวที่ลงมากเชื่อว่าเป็นการส่งออก ขยายตัวลดลง
และถามว่า เราเอาอะไรมาช่วยให้มันเติบโตไปได้ แปลกแต่จริงรายจ่ายภาครัฐเราลงไปเจาะแล้ว แม้ว่ายังไม่มีการอนุมัติงบประมาณใหม่ในปีนี้ แต่ว่าการพิจารณาวงเงินในปี 49 ก็จะเหลือเบิกในไตรมาศ 3 ในปีปฏิทินหรือไตรมาศ 4 ในปีงบประมาณ คือ ก.ค. – ต.ค. ดูตัวนี้แล้วดูจากอัตราการจ่าย ปรากฏว่ากระทรวงคลังทำหน้าที่จริง ๆ คือให้มีการเร่งจ่ายด้วย ปรากฏว่าให้มีการจ่ายออกมากในไตรมาสที่ 3 นี้นอกจากนั้นก็เป็นฝีมือกระทรวงคลังอีกในสิ่งที่เหลื่อมจ่ายไปในไตรมาศที่เหลือในปฏิทิน ซึ่งเป็นไตรมาส 1ในปีงบประมาณปีหน้า ก็จะมีการเร่งจ่ายให้เกือบหมดเลยด้วย 2 ตัวนี้บวกกัน นับตัวเลขที่มันมีอยู่ในกระเป๋าและตามอัตราจ่ายจริง ปรากฏว่าจะทำให้ไตรมาศที่สามและสี่ ในปีปัจจุบัน จะมีรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้น เป็นตัวเงินเพิ่มจากปีที่แล้ว 11.4 % เทียบครึ่งปีที่แล้ว คือ สิ่งที่จ่ายช้าในปีแรก ก็เร่งจ่ายในไตรมาสสุดท้ายในปีงบประมาณกับที่เหลื่อมจ่ายในปีหน้า กระทรวงคลังทำงานดีมากเพื่อไม่ให้เศรษฐกิจชะงัก ที่เหลื่อมจ่ายก็ให้มีการจัดจ่ายให้เร็วที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด ด้วยตัวนี้เองตัวเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มสูงขึ้นถึง 11.4 % ถ้าหาก GDP Deflator 6.2% แล้วก็คงเหลือรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้น Inrealterm ประมาณ 5% กว่า ๆ เราถึงใส่ 5-6% เวลารายจ่ายภาครัฐเพิ่มจากลบเป็นบวก Inrealterm 5-6% นี่ก็คือตัวที่จะทำให้ GDP ในเศรษฐกิจ ของเราจะโตต่อไปได้
จากอันนี้ทั้งหมดเราเอามารวมแล้วใส่โมเดลแล้ว ก็คาดคะเนได้ว่า GDP ในครึ่งปีหลังจะขยายตัว 3-4% Export จะลงชั่วคราวเนื่องจาก สต๊อกเก็บน้อยอะไรก็ตาม เนื่องจากความไม่มั่นใจก็เลยไม่กล้ากันเยอะ ได้ Order น้อย และการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงอีกนิดหนึ่ง ยังโชคดีที่มีงบประมาณ ฉะนั้นที่ใครไปบอกว่ารัฐบาลไม่มีงบประมาณจ่ายดูตัวเลขจริง ๆ แล้วมีตั้งเยอะแยะ เพราะอาจจะชะลอตัวตอนไตรมาส 1 ไตรมาส 2 อันนี้เป็นฝีมือกระทรวงคลัง ให้สบายใจได้ มาจากตัวเลขจริงทั้งสิ้น ที่เรารู้ว่าเตรียมจะจ่ายอยู่แล้ว ฉะนั้นในครึ่งปีหลังคงจะโต 3-4% ดูจากกราฟมันน่ากลัวเหมือน DGP ค่อย ๆ ลงทุกไตรมาส คำถามก็คือแล้วที 50 จะเป็นอย่างไร ผมได้ให้พนักงานธปท.เจาะดูปัจจัยด้าน Demand แต่ละตัวของปีหน้าเลย ก็พบว่าอัตราการขยายตัวเฉลี่ยของการบริโภคภาคเอกชน ปี 49 ทั้งปี เฉลี่ย 3.5-4.5 คงจะไม่ลดลงไปอีกแล้ว เพราอย่างที่ว่ารายได้ประชาชนยังดีอยู่ การจ้างงานเพิ่มอยู่ สินค้ากินใช้หมดไปของสหพัฒน์ฯ ยังขายได้ตามเดิม สินค้าคงทนจะลงบ้างอันนี้เป็นเรื่องหนึ่ง
ส่วน Export เดาว่าคงไม่ดีเท่าปีนี้ เพราะปีนี้งวดแรกมันดีเป็นพิเศษ พิษของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะทำให้การบริโภคของโลกลดลง จากการที่ดูแล้ว Serway ทั้งหมดแล้วสินค้า การบริการ รวมทั้งการท่องเที่ยวด้วยนั้นปีหน้าคงจะโตแค่ 5-6% เท่านั้นและ แต่ 5-6% Inrealterm ถ้าเป็นใน Monyterm ก็ราว 10% ตามเดิม เพราะปีหน้า Intration คงจะอยู่ 4 % ส่วนการนำเข้าอาจจะอยู่ 5-6% Inrealterm เช่นเดียวกัน เพราะมันเริ่มกลับมา Staywal อย่างเดิม Nets Export ก็จะเพิ่ม 5-6% พวกนี้จะช่วยเสริม Gloss ได้ดี ตัวเดียวที่เป็นห่วงกัน คือ ค่าใช้จ่ายรัฐบาลเนื่องจากยังไม่มี การอนุมัติประมาณสำหรับปี 50 ผมก็เลยเอามาคาดคะเนในค่าใช้จ่ายภาครัฐเราก็เชื่อได้ อย่าง Conservation ที่สุดนะ เราหวังว่างบประมาณจะอนุมัติก็คงจะภายในงวดสองของปีหน้า คือ เมษา-มิถุนายน งวดในปีปฏิทิน คือเผื่อไว้เลยเลือกตั้งช้าเร็วไม่ใช่เรื่องของผม ผมต้องเผื่อไว้ก่อน แล้วกว่าจะเริ่มใช้งบประมาณ ในโมเดลของเรา เริ่มใช้ได้เป็น ก.ค. 50 ซึ่งเริ่มใช้ก็จะเร่งเบิกพอควร แล้วนอกจากนี้ในไตรมาส 4 ของปี 50 ซึ่งเป็นงบประมาณใหม่ของปีหนึ่งอีก ก็เชื่อว่ารัฐบาลใหม่จะสามารถนำเสนอให้สภาอนุมัติได้ทันกำหนดตามปกติ ฉะนั้นงบประมาณใหม่ของปี 51 สิ้นปี 50 ถือว่าปกติ ก็จะมีงบประมาณใช้ปกติ ฉะนั้นไตรมาส 4 ปีหน้า จะเพิ่มมากกว่าไตรมาส 4 ปีนี้มากทีเดียว
จากตัวเลขที่เราบอก จากสมมติฐานดังกล่าว พิจารณางบประมาณอย่างครบถ้วนแล้วเราได้ตัวเลขว่า รายจ่ายภาครัฐโดยรวมทั้งหมดในปีหน้ายังจะเพิ่มขึ้น Inrealterm 3-4% ไม่ได้ลดอย่างที่ใครคิด เพราะว่าการเบิกจ่ายในไตรมาสที่ 3 ของปีปฏิทิน 2550 ได้รับอนุมัติแล้ว ก็จะมีเร่งเบิกจ่ายประการแรก และงบประมาณไตรมาสที่ 4 เป็นงวดแรกของ 2551 เนี่ย สูงกว่าปีนี้มาก เพราะปีนี้เรานิ่งอยู่ ฉะนั้นค่อนข้างชัดนะ นี่เราไล่ทีละไตรมาสเลย เพราะผมห่วงเศรษฐกิจมากกว่า ก็ค่อนข้างชัดรายจ่ายภาครัฐยังจะโต 3-4% Inmonyterm ก็คง 7-8% กระทรวงคลังทำงานอย่างเต็มที่ ค่าใช้จ่ายภาครัฐไม่ได้ฉุด GDP มากอย่างที่ทุกคนกลัว กลัวว่าจะติดลบแต่มันไม่ลบกลับบวกซะอีก
ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวปีหน้าจะเท่ากับปีนี้ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายภาครัฐจะขยายตัว 3-4% ไม่ช่วยเรื่อง Gloss เท่าไหร่ แต่ไม่ได้ฉุดเท่านั้นเอง ตัว Export เองปีหน้าก็จะไม่โตเท่ากับปีนี้ ไม่เท่ากับปีนี้แน่นอน เพราะปีนี้ภาคแรกเหลือเชื่อ ตัวที่จะกลับมาเป็นพระเอกในปีหน้า ผมเชื่อว่าจะเป็นการบริโภคภาคเอกชน เพราะว่าขณะนี้การใช้กำลังผลิตสูงมาก 76% นี้ สูง 76% นี่เฉลี่ยทั้งอุตสาหกรรมนะ บางอุตสาหกรรมเป็นร้อยแล้ว 90 ก็มี 80 ก็มี ซึ่งในอดีตช่วงเศรษฐกิจบูมสูงสุดแค่ 76 เท่านั้นเอง จาก 76% เนี่ยเข้าใจว่าอั้นอยู่ Export ยังขยายตัวต่อไป จากกำลังการผลิต เอกชนก็ยังบริโภคในอัตราเฉลี่ย 3.5-4.5% ยังมีการซื้อของเพิ่มขึ้นจากกำลังการผลิต เอกชนอั้นไม่อยู่หรอกที่จะลงทุน แล้วผมเชื่อว่าเมื่อสิ้นปีนี้ทุกอย่างจะชัดขึ้น ขณะนี้ราคาน้ำมันก็เริ่มชัดขึ้น ถ้าใช้ Demand Supply ของน้ำมันแล้วไม่มีการสูงกว่านี้ ที่มันกระตุกขึ้นบ้าง ก็เนื่องจากการขัดแย้งระหว่างภูมิภาคนั้นเอง แต่ว่าที่เอกชนคงอยากรอดู อีกสัก 2-3 เดือน ผมว่าคงอยู่อย่างนี้ต่อไป ถ้าเอกชนเห็นว่าราคาน้ำมันอยู่ตัวต่อไปเค้าก็คำนวณต้นทุนได้ ประกอบกับมีรัฐบาลแน่ชัดแล้ว
ผมเชื่อว่าเค้าก็จะลงทุนเพราะมันอั้นมานาน เพื่อรองรับการบริโภคภายในประเทศ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป ตัวเลขการลงทุนภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้น 7-8% ยังไม่ดีเท่า 11% ในปี 48 แต่ก็ให้มันดีขึ้นกว่า ปี 49 ปีนี้เฉลี่ย 4.5-5.5% ปีที่แล้ว 7-8% Inrealterm Inmonyterm คงเป็น 12% เศรษฐกิจที่ Reseal หมายความว่า เมื่อเจอภัยอีกข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งมันมารับไว้เสมอ ด้วยเหตุนี้เอง GDP ที่ลดลงในครึ่งปีหลังของปี49 นี้ ก็จะกลับมาดีขึ้นอีก ไปอยู่ระดับ4-5.25 ในปี 2550 ซึ่งถือได้ว่าจะไม่เลวกว่านี้ ซึ่งอยู่ในระดับที่น่าพอใจทีเดียวในการอนุมัติงบประมาณล่าช้า คงจะไม่โตแค่ 2 % อย่างที่นักเศรษฐศาสตร์บางคนระบุและอาจจะโตกว่านี้ก็ได้ ถ้าภาคธุรกิจเอกชนเข้าใจในความสำคัญของตนเองมากขึ้น
กล่าวคือ ในเศรษฐกิจของประเทศไทย สัดส่วน GDP ที่อยู่ในมือเอกชน ที่อยู่ในมือรัฐเป็น 26-27% นั้นที่เหลืออยู่ในมือเอกชน ถ้าภาคเอกชนจะดำเนินกิจการของตัวเองอย่างปกติ ไม่ให้นำหนักของการเมืองมากเกินไป ดำเนินการผลิตเพิ่มและลงทุนเพิ่ม สนองต่อการขยายตัวของภาคบริโภคภายในประเทศ และการขยายตัวการส่งออก ตามที่ควรจะเป็น ก็จะช่วยให้กิจกรรมเศรษฐกิจก้าวพ้นไปได้อย่างต่อเนื่อง และมี Momentum ที่จะขยายตัวได้เร็วขึ้นกว่าที่คาดการอย่างแน่นอน ถึงเวลาแล้วที่ภาคเอกชนจะนำการขยายตัวเศรษฐกิจอย่างที่เป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งสนองตอบต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่รอรัฐบาลและให้การเมืองสงบ
ถ้าคิดให้ดีก็จะเห็นได้ว่า ความล่าช้าของการได้มาซึ่งรัฐบาลนั้น มีผลกระทบเรื่องการลงทุนใหม่ ภาครัฐโดยตรงเท่านั้น ถ้าภาคธุรกิจเอกชนยังมีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยและดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจตามปกติ บริโภคตามปกติ ลงทุน ตามที่ควร เพื่อสนองความต้องการบริโภคทั้งในและนอกประเทศ เศรษฐกิจภาคเอกชนซึ่งสูงถึง 72% ของ GDP ก็ยังจะขับเคลื่อนได้เป็นอย่างดี ดังที่เห็นมาแล้วในช่วง 7-8 เดือนที่ผ่านมา
คราวนี้มาดูภาคเงินเฟ้อบ้าง ซึ่งเป็นด้านที่ได้รับผลกระทบจาราคาน้ำมันโดยตรง และทำให้ ธปท. ต้องปรับการคาดคะเนค่าเงินเฟ้อเฉลี่ยสำหรับปีนี้ จากเดิมการคาดคะเนปีนี้จะเป็น 4.5 % ได้ปรับขึ้นเป็น 5-5.75% แต่ในทางตรงกันข้ามเงินเฟ้อที่เคยสูงถึง 6% ในบางเดือนในงวดที่หนึ่งจะค่อย ๆ ลดลงในงวดที่สอง และเมื่อเร็ว ๆ นี้กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศออกมาว่าเงินเฟ้อในเดือน ก.ค. ลดลงเหลือ4.4% แล้วตามที่เราคาดไว้นะ เราคาดว่าลงแต่ไม่ได้บอกว่ากี่ % เราบอกว่าลง ทั้งนี้เพราะในปีที่แล้ว เป็นปีที่เริ่มปล่อยน้ำมันลอยตัวเต็มที่ในเดือน ก.ค. ทำให้ฐานปีที่แล้วสูง ปีนี้ไม่ได้เก่งอะไรหรอก ฐานปีที่แล้วสูง ปีนี้ก็เลยลดลง 4.4% แต่คิดว่าจะลงไปอีก เพราะฉะนั้นการเพิ่มราคาของงวดที่ 2 ของปีที่แล้วจะต่ำกว่างวดที่ 1 อย่างแน่นอน ในครึ่งปีหลังจะต่ำกว่าครึ่งปีแรกอย่างแน่นอน
ส่วนการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ก็ทำให้ลดอัตราเงินเฟ้องวดที่ 2 ของปีนี้ลดช้าไปกว่าเดิม แต่การขึ้นน้ำมันรอบ 2 เนี่ย ซึ่งมันรุนแรงมากในช่วงหลัง มันทำให้เราต้องปรับขึ้น คงจะสูงกว่าที่คาดไว้เดิม แต่คงจะอยู่ใน 4 กว่า ๆ 4-5 นี่แหละ ในช่วงไตรมาสที่ 2 ถึงเป็นข่าวดีที่ว่า เงินเฟ้อที่สูงผ่านจุดสูงสุดไปแล้วเริ่มอยู่ในระดับที่ลดลง ในปี 2550 และ 2551 เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงไปอีก ด้วยสมมติที่ว่าเหตุการณ์การเมือง ระหว่างภูมิภาคในโลกจะคลี่คลายไปได้ก่อนสิ้นปีนี้ แต่ไม่มีใครบอกได้ว่าสมมติฐานจะถูกหรือไม่ เพียงแต่เชื่อว่าจะมีโอกาสเป็นไปได้เช่นนั้นมาก ๆ ซึ่งอาจจะช่วยให้ราคาน้ำมันลดลงซะด้วยซ้ำไป
อย่างไรก็ตามในการคาดคะเนของ ธปท. ที่ให้ดูเรื่อง GDP ทั้งหมดนี้เราได้ตั้งราคา สมมติฐานราคาน้ำมันไว้ค่อนข้างสูง ได้ไว้ตามราคาตลาดดูไบอยู่ที่ระดับ 71 ดอลลา ซึ่ง ณ วันนี้ 67 กว่าเท่านั้นเอง ดูไบ 71 ดอลลา ทั้งครึ่งหลังปีนี้และทั้งปีหน้าทั้งปี 71 ดอลล่าห์ เวลาพูดถึงดูไบ 71 ดอลล่าห์ เปรียบเทียบกับ Wetstexus เท่ากับ 74.5 US ทุกคนจะพูด Wetstexus ตลอด 70-80 คือตัวนั้น ขนาด74.5 ขณะนี้ดูไบ 71 ตลาดโลกจริงประมาณ 67-68 เท่านั้น ฉะนั้นเราเผื่อไว้แล้ว ไม่สามารถเผื่อไว้เวลาเกิดสงครามตูมตาม จะขึ้นลงอันนั้นไม่มีใครเดาออก เราก็ต้องเผื่อที่มันสมควร
งั้นโดยสรุปนะครับ ผมอยากจะสรุปว่า เศรษฐกิจในปัจจุบันมีทั้งความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เรียกว่า Reversal พอ ที่รองรับผลกระทบจากปัจจัยลบหลายอย่างได้ค่อนข้างดี จะเห็นได้ตั้งแต่ผลกระทบจากสึนามิ ภัยแล้ง ราคาน้ำมันสูงรอบแรกในปี 48 ผลกระทบจาการขึ้นราคาน้ำมันรอบสอง สุญญากาศทางการเมืองอันวุ่นวายในปี 49 เราก็ยังรับได้ดี เพราะเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวในอัตราที่น่าพอใจ คือประมาณ 4.5 % และเชื่อว่าเมื่อมีรัฐบาลที่ประชาชนยอมรับภายในปีนี้แล้วการลงทุนภาคเอกชนก็จะขยายตัวดีขึ้นในปีหน้า เชื่อว่าเริ่มตั้งแต่ต้นปีเนื่องจากอัตราการผลิตในปัจจุบันเพิ่มสูงมากแล้ว และการลงทุนของภาคเอกชน ที่จะกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นนี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายตัวเศรษฐกิจใน 50 คือจะกลับมาเป็นพระเอกในปี 50 การลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัวลงในปัจจุบันอาจจะฟื้นกลับมาเร่งกว่าที่คาด หากราคานำมันที่เริ่มทรงตัวไม่ขึ้นต่อไปอีกแล้วและจะเป็นอย่างนี้ต่อไป จนทำให้นักลงทุนเลิกพะวง และหากนักลงทุนจะเลิกพะวงถึงสถานการณ์การเมือง
ซึ่งแท้ที่จริงไม่มีผลต่อธุรกิจเอกชนเท่าใดนัก และเอกชนเข้าใจความสำคัญของธุรกิจภาคเอกชน บริโภคภาคเอกชน และไม่ไปห่วงการเมืองจนเกินไป เราดูธุรกิจของเราไม่ต้องไปเล่นกับเค้าด้วย ผมก็เชื่อว่านักลงทุนจะนัดสินใจลงทุนทางเศรษฐกิจโดยไม่เอาการเมืองมาเกี่ยว เศรษฐกิจประเทศไทยก็น่าจะขยายตัวได้มากกว่าที่ผมคาดคะเนที่สำคัญที่กลัวว่า การว่างเว้นรัฐบาลทำให้ขาดงบลงทุนของภาครัฐ จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวช้าลง เอกชนจึงรีรอเรื่องการลงทุน เอาเข้าจริง ๆ ค่าใช้จ่ายภาครัฐ ปี 49 ทั้งปี ยังสูงกว่าปี 48 โดยอาศัยงบเหลื่อมจ่ายมาช่วยในไตรมาศที่ 4 ของปี และค่าใช้จ่ายภาครัฐปี 50 ก็ยังจะสูงกว่า ปี 49 อีก ได้อธิบายมาแล้วชัดเจน ถ้าเราคิดในทางกลับกันว่า ในระหว่างที่เกิดเหตุว่างเว้นรัฐบาล ถ้าเอกชนขยายการลงทุนโดยไม่พะวงเรื่องการเมือง ดูเรื่อง Factor เศรษฐกิจจริง ๆ ดูเรื่องคำสั่งซื้อ ดูเรื่อง Demand จริง ๆ ผมว่านั่นแหละจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัว ชะลอการลงทุนภาครัฐที่รองบประมาณอยู่ได้
ที่น่าดีใจ คือ การบริโภคภาคเอกชนนั้น ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราที่แท้จริง 4% เพราะนั่นคือ 56 % ของ GDP ทั้งหมด ถ้าตัวนี้ขยายตัวในอัตราที่ดี อย่างที่ว่า 4% Inrealterm นี้ เศรษฐกิจไม่น่าจะหยุดต่อไปได้ ก็เลยอยากจะบอกว่าให้นักลงทุนภาคเอกชนได้เข้าใจถึงความสำคัญของตัวเอกงสักที เศรษฐกิจของไทยนั้น พูดได้ว่าเป็น Privet Academe แล้วดูตัวเอง ดูสภาวะเศรษฐกิจ แล้วดำเนินการด้านเศรษฐกิจ ได้ตามที่ตัวเองเห็นนั้นจะดีที่สุด สำหรับประเทศชาติ
อีกประการหนึ่งที่นักลงทุนน่าจะสบายใจ คือว่า อัตราเงินเฟ้อไม่สูงมากจนเกินไป และขณะนี้ที่เริ่มทยอยลดลงแล้ว ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุน ไม่ต้องพะวงเรื่องต้นทุนที่เพิ่มขึ้น หากราคาน้ำมันไม่ขึ้นอีก ถ้าไม่เกิดสถานการณ์สงครามในภูมิภาคระหว่างประเทศ ราคาน้ำมันไม่น่าจะเพิ่มไปอีก อาจจะลดลง ถ้าจะว่าไปแล้วสถานการณ์ที่นักลงทุนไทยควรจะคอยติดตามให้มาก ๆ ก็คือ สถานการณ์ความขัดแย้งระว่างภูมิภาคในโลก เพราะถ้าเกิดแล้วจะกระทบราคาน้ำมันอย่างรุนแรง ไอ้ที่ Focus ไว้ อาจจะต้อง Focus กันใหม่ ควรจะติดตามเรื่องนั้นมากกว่าสถานการณ์การเมืองในประเทศ ในเรื่องการตัดสินใจลงทุนในเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งผมคิดว่าในที่สุดจะคลี่คลายไปได้เองในปลายปีนี้ เราก็จะมีงบประมาณรัฐบาลเมื่อใช้จ่ายลงทุนตามปกติได้ดังเดิม แม้จะช้าไปบ้างก็จะไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจถึงขั้นหยุดเดินดังที่กล่าวกันหรือสร้างภาพให้กลัวกันมากเกินไป
…………………….